น้ำประปา กินได้ไหม? ในประเทศไทย อันตรายหรือปลอดภัย?

น้ำประปา กินได้ไหม?

น้ำประปา กินได้ไหม? เป็นคำถามที่หลายคนให้ความสำคัญและมีความคิดเห็นที่หลากหลาย วันนี้ผมจะมาอธิบายตั้งแต่แหล่งที่มาของน้ำประปาว่ามาจากไหน มีหน่วยงานไหนกำกับดูแล และเคลียร์ข้อสงสัยว่าเราควรดื่มน้ำประปาโดยไม่ผ่านการกรองไหม?

แล้วถ้าดื่มจะเกิดอะไรขึ้น มีความเสี่ยงต่อร่างกายรึเปล่า หากเราต้องการดื่มน้ำที่สะอาดและปลอดภัย จะทำยังไงได้บ้าง และเราใช้เกณฑ์อะไรในการวัดคุณภาพน้ำ ผมจะมาให้คำตอบในบทความนี้ครับ

1. ทำความเข้าใจน้ำประปาในประเทศไทย

น้ำประปาในประเทศไทยส่วนใหญ่มาจากแหล่งน้ำผิวดิน เช่น แม่น้ำ อ่างเก็บน้ำ น้ำบาดาล น้ำดิบ น้ำคลอง โดยมีการประปานครหลวง (MWA) และการประปาส่วนภูมิภาค (PWA) ทำหน้าที่บำบัดและจ่ายน้ำตามเขตเมืองและชนบท

  • การประปานครหลวง (MWA) : รับผิดชอบคุณภาพน้ำในกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล
  • การประปาส่วนภูมิภาค (PWA) : รับผิดชอบคุณภาพน้ำในจังหวัดต่างๆ นอกเขตปริมณฑล

แม้จะมีกระบวนการบำบัดน้ำ เช่น เติมคลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรค แต่คุณภาพน้ำในแต่ละพื้นที่อาจไม่เหมือนกัน เพราะมีโครงสร้างพื้นฐานในการจ่ายน้ำแตกต่างกัน ใจกลางเมืองจะมีความทันสมัยมากกว่า แต่พื้นที่ชนบทมักใช้ระบบเก่า

ต่อให้กรุงเทพจะมีมาตรฐานการบำบัดน้ำที่ดีแค่ไหน แต่อาจมีปัญหาระหว่างกระบวนการจ่ายน้ำได้ เช่น ท่อน้ำเก่า แตกหัก ชำรุด เสื่อมสภาพ เกิดการกัดกร่อนสีเคลือบ จนละลายลงมาเจือปนกันน้ำ เป็นสนิม และมีการบำรุงรักษาไม่ดี ทำให้เกิดการปนเปื้อน มีสิ่งเจือปน สิ่งปรกต่างๆ รวมถึงเชื้อโรค แบคทีเรียผ่านมากับน้ำด้วย

2. น้ำประปา กินได้ไหม?ในประเทศไทย

ผมขอตอบว่าไม่ปลอดภัยที่จะดื่มน้ำประปาจากก๊อกทันที หากต้องการดื่มน้ำสะอาดและปลอดภัยต่อสุขภาพ ควรมีการบำบัดน้ำเพิ่มเติม คือติดตั้งเครื่องกรองน้ำระบบ UF หรือ RO หรือซื้อน้ำขวดตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำ, กดน้ำจากตู้น้ำหยอดเหรียญ อย่างต่ำที่สุดคือการเอาน้ำไปต้มให้เดือดก่อน สาเหตุที่เราไม่ควรดื่มน้ำประปา ได้แก่

2.1 การปนเปื้อนจากโครงสร้างพื้นฐานเก่า

ระบบน้ำประปาหลายแห่งในประเทศไทยใช้ท่อน้ำเก่า แตกหัก ชำรุด เสื่อมสภาพ มีคราบ ตะกอนฝั่งแน่น และผุกร่อน ทำให้น้ำมีสารปนเปื้อน ที่สำคัญท่อน้ำในประเทศไทยมีการบำรุงรักษา และการปรับปรุงโครงสร้างไม่เพียงพอด้วยครับ

อ่านต่อ : อันตรายของสารตะกั่วในน้ำ น่ากลัวกว่าที่คิด!

2.2 การปนเปื้อนของจุลินทรีย์

น้ำประปาในประเทศไทยมีจุลินทรีย์ที่เป็นอันตราย เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต ทำให้เกิดโรคติดต่อทางน้ำได้ ผมจำข่าวการพบเชื้อปรสิตในน้ำที่คอนโดหรูได้ดี ทำให้ลูกบ้านตาแดงอักเสบเป็นจำนวนมาก บางรายเสี่ยงตาบอด ใครยังไม่ทราบข่าวอ่านต่อได้ที่นี่ครับ

อ่านต่อ : เผยสาเหตุ เชื้อปรสิตในน้ำคอนโดฯ หรู กทม.จ่อดำเนินคดี ขีดเส้นแก้ปัญหาใน 3 วัน

ดังนั้น ควรติดตั้งเครื่องกรองน้ำ 5 ขั้นตอน โดยต้องมีไส้กรองน้ำ UF หรือ ไส้กรองน้ำ RO ด้วย เพราะไส้กรอง 2 ชนิดนี้ สามารถกรองเชื้อโรค ไวรัส แบคทีเรีย รวมถึงปรสิตได้ด้วยครับ เพราะแม้ว่าจะมีการใช้คลอรีนฆ่าเชื้อโรคในน้ำ แต่ปริมาณคลอรีนอาจไม่เพียงพอที่จะฆ่าเชื้อโรคทั้งหมดได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลหรือชนบท

2.3 สารปนเปื้อนทางเคมี

กิจกรรมทางอุตสาหกรรมในประเทศ ก่อให้เกิดสารเคมีอันตรายครับ เช่น โลหะหนัก ยาฆ่าแมลง และสารพิษอื่นๆในแหล่งน้ำ รวมถึงการเกษตรกรรมด้วย เพราะมีการใช้ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ส่งผลให้เกิดการไหลบ่าของสารเคมีซึ่งอาจปนเปื้อนในแหล่งน้ำได้

2.4 การบำบัดแหล่งน้ำไม่เพียงพอ

โรงบำบัดน้ำในประเทศไทย ไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานสากลทั้งหมด ส่งผลต่อการควบคุมคุณภาพน้ำ ทำให้น้ำที่จ่ายไปสู่ครัวเรือน ได้รับการบำบัดไม่เพียงพอ

2.5 ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม

แหล่งน้ำธรรมชาติในประเทศไทยอาจมีแร่ธาตุและสารอื่นๆตามธรรมชาติในปริมาณสูง ซึ่งอาจทำให้คุณภาพน้ำไม่ดีเพียงพอ รวมถึงเรื่องอากาศ ภูมิศาสตร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล

เช่น มรสุมที่เพิ่มโอกาสในการเกิดน้ำท่วม และการไหลบ่า ทำให้มีสารปนเปื้อนเพิ่มเติมในแหล่งน้ำครับ

ด้วยเหตุผลต่างๆเหล่านี้ ผมเลยแนะนำให้ติดตั้งระบบกรองเพิ่มเติม เช่น เครื่องกรองน้ำ UF, เครื่องกรองน้ำ RO หรือตัวกรอง UV ก่อนดื่มน้ำประปาในประเทศไทยจะดีที่สุดครับ

เครื่องทำน้ำเย็น ราคา

เครื่องทำน้ำเย็น ราคาโรงงาน
สะอาด ประหยัด ใช้งานง่าย

ไม่ต้องลำบากซื้อน้ำแพ็คให้เปลืองเงิน แค่เดินไปกรอกน้ำก็ดื่มได้ทันที เหมาะกับออฟฟิศสำนักงาน โรงงาน โรงเรียนที่มีคนจำนวนมาก ทำให้ทุกคนเข้าถึงน้ำสะอาดได้ง่าย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกด้วยครับ

เช็คราคาเครื่องทำน้ำเย็น

3. ความเสี่ยงจากการดื่มน้ำประปาโดยไม่ผ่านกระบวนการกรอง มีอะไรบ้าง?

น้ำประปามีสารปนเปื้อนต่างๆที่เรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า หากเราดื่มน้ำประปาโดยไม่ผ่านการกรอง ก็จะมีความเสี่ยงต่อสุขภาพหลายประการ ดังนี้ครับ

3.1 การปนเปื้อนของจุลินทรีย์

  1. แบคทีเรีย : น้ำประปาอาจมีแบคทีเรียที่อันตราย เช่น อีโคไล ซัลโมเนลลา และแคมไพโลแบคเตอร์ ทำให้เกิดโรคทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย ตะคริวในกระเพาะอาหาร และอาเจียน
  2. ไวรัส : เชื้อก่อโรค เช่น โนโรไวรัสและไวรัสตับอักเสบเอ ทำให้เกิดไข้หวัดกระเพาะหรือการติดเชื้อที่ตับอย่างรุนแรง
  3. ปรสิต : โปรโตซัว เช่น จีอาร์เดียและคริปโตสปอริเดียม อาจทำให้เกิดปัญหาทางเดินอาหารเป็นเวลานาน รวมถึงท้องเสียรุนแรงและปวดท้อง
vibrio cholerae
rotavirus
giardia intertinalis

3.2 สารปนเปื้อนทางเคมี

  1. โลหะหนัก : สารปนเปื้อน เช่น ตะกั่ว ปรอท และสารหนู อาจมีอยู่ในน้ำ เนื่องจากมลพิษทางอุตสาหกรรม หรือระบบประปาที่เสื่อมสภาพ ส่งผลให้เกิดพิษต่อระบบประสาท ไต และอวัยวะอื่นๆ
  2. ยาฆ่าแมลงและสารกำจัดวัชพืช : น้ำทิ้งจากการเกษตร สามารถนำสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร ลงสู่แหล่งน้ำได้ อาจรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง
  3. สารมลพิษทางอุตสาหกรรม : ของเสียจากอุตสาหกรรมสามารถนำสารอันตราย เช่น สารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) เข้ามาได้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว รวมถึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเพิ่มขึ้น

3.3 คลอรีนและผลิตภัณฑ์จากการฆ่าเชื้อ

แม้ว่าคลอรีนจะใช้ฆ่าเชื้อในน้ำ แต่ปริมาณที่มากเกินไปอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพ เช่น การระคายเคืองผิวหนัง ปัญหาทางเดินหายใจ และรสชาติไม่พึงประสงค์ ที่สำคัญ ปฏิกิริยาของคลอรีนกับสารอินทรีย์ในน้ำสามารถผลิตไตรฮาโลมีเทน (THM) และกรดฮาโลอะซิติก (HAA) เป็นสารที่เพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็ง และปัญหาสุขภาพด้านอื่นๆตามมาครับ

3.4 ความขุ่นและตะกอน

  1. สารแขวนลอย : ระดับความขุ่นในน้ำ บ่งชี้ถึงการมีอยู่ของอนุภาคแขวนลอย ซึ่งสามารถเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคและลดประสิทธิภาพของการฆ่าเชื้อได้ครับ
  2. ตะกอน : การดื่มน้ำที่มีตะกอนสูง อาจทำให้เกิดความผิดปกติในทางเดินอาหารและอาจมีจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายได้ครับ

3.5 ปัญหาเรื่องรสชาติและกลิ่น

สารปนเปื้อนต่างๆและกลิ่นคลอรีน จะส่งผลต่อรสชาติและกลิ่นของน้ำ ทำให้น้ำมีรสชาติไม่อร่อย ดื่มน้ำได้น้อยลง อาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำตามมาได้ โดยเฉพาะช่วงอากาศร้อน และสารปนเปื้อนทางเคมีบางชนิดอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายด้วยครับ

อ่านต่อ : คลอรีนอันตรายไหม? น้ำประปามีกลิ่นคลอรีนต้องทำยังไง?

ตู้น้ำ WP9HC-UF+RO ต่อประปา

เครื่องทำน้ำเย็น WP9HC
Best Seller

เหมาะกับออฟฟิศและสำนักงานที่มีจำนวนผู้ใช้งานประมาณ 20 คน เป็นสินค้าขายดีต่อเนื่องติดต่อกันกว่า 10 ปีในงบประมาณไม่เกิน 10,000 บาท

คลิกเพื่อดูรายละเอียด

4. หากน้ำประปาดื่มไม่ได้ มีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร?

เมื่อน้ำประปาไม่ปลอดภัยมากพอที่จะดื่ม ผมเลยเสนอวิธีแก้ไขปัญหามาให้ 4 วิธี ซึ่งแต่ละวิธีก็มีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันครับ

4.1 ซื้อน้ำบรรจุขวด

ข้อดี

  • สะดวก : หาซื้อง่ายตามร้านค้า เช่น 7-11, Big C, Lotus
  • ปลอดภัย : มีการควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด มั่นใจได้ว่าสะอาดบริสุทธิ์ ดื่มได้แน่นอน

ข้อเสีย

  • ต้นทุนสูง : การซื้อน้ำขวดทุกวัน ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงครับ เป็นการจ่ายที่แพงในระยะยาว
  • ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม : ก่อให้เกิดขยะพลาสติก เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ก่อให้เกิดไมโครพลาสติก

อ่านต่อ : วิธีกำจัดไมโครพลาสติก (Microplastic) ออกจากน้ำดื่ม

4.2 ติดตั้งเครื่องกรองน้ำ

ข้อดี

  • คุ้มค่า : ประหยัดมากกว่าเมื่อเทียบกับการซื้อน้ำขวด ทำให้มีเงินเก็บเพิ่มขึ้น
  • เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม : ลดขยะพลาสติกไปได้เยอะเลยครับ

ข้อเสีย

  • ต้นทุนการติดตั้งเบื้องต้น : เราต้องยอมจ่ายแพงตอนแรกก่อน แล้วถึงจะเกิดความคุ้มค่าในระยะยาวครับ
  • การบำรุงรักษา : ต้องเปลี่ยนไส้กรองน้ำเป็นประจำ หากใช้เครื่องกรองน้ำ RO ที่ต้องใช้ไฟฟ้า และมีอะไหล่เพิ่มขึ้น เช่น ปั๊มน้ำ, Low Pressure, High Pressure, Solenoid Valve ซึ่งมีการเสื่อมสภาพ หรือชำรุดเสียหายได้ เราก็ต้องเปลี่ยนอะไหล่ชิ้นใหม่ หรือส่งให้ช่างผู้เชี่ยวชาญซ่อมแซมครับ

อ่านต่อ : ปัจจัยที่มีผลกับคุณภาพน้ำ ที่ผ่านเครื่องกรองน้ำ มีอะไรบ้าง?

เครื่องกรอง RO ไมโครพลาสติก

4.3 ต้มน้ำเดือด

ข้อดี

  • กำจัดสิ่งปนเปื้อนได้เบื้องต้น : ฆ่าแบคทีเรีย ไวรัส และปรสิต
  • ความเรียบง่าย : แค่เอาน้ำไปต้มในหม้อ หรือกระติกน้ำร้อนที่มีอยู่ในบ้าน

ข้อเสีย

  • มีค่าไฟเพิ่มขึ้น : ต้องใช้เชื้อเพลิงหรือไฟฟ้าในการต้มน้ำ
  • ใช้เวลา : ต้องใช้เวลาในการต้มให้น้ำเดือด
  • ประสิทธิภาพ : ไม่สามารถกำจัดสารปนเปื้อนทางเคมีได้

4.4 ใช้บริการตู้น้ำหยอดเหรียญ

ข้อดี

  • คุ้มค่า : ถูกกว่าการซื้อน้ำขวด
  • เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม : ลดขยะพลาสติกโดยการนำภาชนะกลับมาใช้ใหม่ได้

ข้อเสีย

  • ความพร้อมใช้งาน : อาจไม่มีจำหน่ายในทุกพื้นที่
  • การประกันคุณภาพ : ตู้น้ำหยอดเหรียญบางจุด ไม่มีการบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม เคยมีเจ้าหน้าที่ เอาน้ำจากตู้หยอดเหรียญไปตรวจคุณภาพน้ำ ผลออกมาว่าไม่ผ่านก็มีเยอะเหมือนกันครับ บางตู้ตรวจแล้วผ่าน เพราะใช้ระบบ RO มีการเปลี่ยนไส้กรองน้ำและทำความสะอาดอย่างเหมาะสม

เราจะแก้ปัญหาน้ำประปาแบบไหน ขึ้นอยู่กับความต้องการส่วนบุคคล ความสะดวก และทรัพยากรที่มี

เช่น ติดตั้งเครื่องกรองน้ำและซื้อน้ำขวดเป็นบางโอกาส หรือถ้าต้องการใช้น้ำเร่งด่วน แล้วไม่มีทางเลือก ก็ใช้วิธีต้มน้ำให้เดือดไปก่อน

ลดราคา!
Original price was: ฿ 23,000.00.Current price is: ฿ 22,000.00.
ลดราคา!
Original price was: ฿ 10,500.00.Current price is: ฿ 9,900.00.
ลดราคา!
Original price was: ฿ 24,500.00.Current price is: ฿ 23,500.00.
ลดราคา!
Original price was: ฿ 10,500.00.Current price is: ฿ 9,900.00.
ลดราคา!
Original price was: ฿ 23,000.00.Current price is: ฿ 22,000.00.
ลดราคา!
Original price was: ฿ 17,700.00.Current price is: ฿ 16,700.00.
ลดราคา!
Original price was: ฿ 24,500.00.Current price is: ฿ 23,500.00.

4.5 ติดตั้งเครื่องทำน้ำเย็น กรองในตัว

ข้อดี

  • คุ้มค่า : ประหยัดมากกว่าในระยะยาว
  • เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม : ลดขยะพลาสติกจากการซื้อน้ำบรรจุขวด
  • อิสระ : เลือกระบบกรองได้ตามความชอบ เช่น ระบบ UF, RO, Nano
  • ไม่ต้องแช่น้ำในตู้เย็น : ตู้ทำน้ำเย็นจะทำอุณหภูมิให้เราอัตโนมัติ มีทั้งน้ำเย็น น้ำร้อน น้ำธรรมดา

ข้อเสีย

  • มีต้นทุนติดตั้งเริ่มแรก : ต้องลงทุนค่าตู้กดน้ำเย็นช่วงแรกก่อน
  • การบำรุงรักษา : ต้องเปลี่ยนไส้กรองน้ำ ล้างทำความสะอาดตู้น้ำตามระยะเวลาที่กำหนด หรือมีอะไหล่เสื่อมสภาพ

5. น้ำประปาดื่มได้ มีเกณฑ์มาตรฐานอะไรบ้าง?

ประเทศไทยมีการกำหนดมาตรฐานน้ำประปาขึ้นมา เพื่อให้มั่นใจถึงความปลอดภัยของคุณภาพน้ำของผู้ที่อยู่อาศัยตามครัวเรือน ออฟฟิศ สำนักงาน โดยอ้างอิงตามแนวทางที่กำหนดโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อกำหนดคุณภาพทางฟิสิกส์ เคมี และจุลชีววิทยาต่างๆ สามารถศึกษามาตรฐานน้ำดื่ม กระทรวงสาธารณสุขอย่างละเอียด

อ่านต่อ : มาตรฐานนำ้ดื่ม ตามกระทรวงสาธารณสุข มีอะไรบ้าง?

หน่วยงานกำกับดูแลคุณภาพน้ำ มีหน้าที่อะไรบ้าง?

  1. ทดสอบคุณภาพน้ำเป็นประจำ : คุณภาพน้ำจะได้รับการทดสอบเป็นประจำโดย MWA และ PWA เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นไปตามมาตรฐาน มีการตรวจสอบสารปนเปื้อนทางจุลชีววิทยา สารมลพิษทางเคมี และลักษณะทางกายภาพ
  2. กระบวนการบำบัด : รับผิดชอบกระบวนการบำบัดน้ำ รวมถึงการตกตะกอน การกรอง และการฆ่าเชื้อ
  3. การบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน : มีความพยายามอย่างต่อเนื่อง เพื่อบำรุงรักษาและอัพเกรดโครงสร้างพื้นฐานการจ่ายน้ำ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนระหว่างการขนส่ง

อ่านต่อ : ตรวจคุณภาพน้ำยังไง? สาเหตุที่น้ำไม่ผ่านมาตรฐานมักเกิดจากอะไร?

6. น้ำประปาของต่างประเทศ สามารถดื่มได้อย่างปลอดภัยไหม?

โดยทั่วไปน้ำประปาจากต่างประเทศ มักจะดื่มได้อย่างปลอดภัยครับ เพราะมีปัจจัยหลายอย่างที่รับประกันคุณภาพ และความปลอดภัยของน้ำดื่มได้

เช่น ใช้อุปกรณ์ได้มาตรฐาน ทำจากวัสดุที่ทนทานต่อสารเคมี และการกัดกร่อน ไม่ทำให้เกิดสนิมและการสะสมของเชื้อโรค ทำให้น้ำมีความสะอาดมากเพียงพอในการบริโภคครับ

เหตุผลอื่นๆที่เราดื่มน้ำประปา ต่างประเทศได้ มีดังนี้ครับ

6.1 มีระบบการบำบัดน้ำที่ทันสมัย

  • โครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย : ประเทศที่มีน้ำประปาดื่มได้มักจะมีอุปกรณ์บำบัดน้ำที่ได้รับการดูแลเป็นอย่างดีและทันสมัย ทำให้กำจัดสารปนเปื้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • มีการบำบัดหลายขั้นตอน : เช่น การกรอง การตกตะกอน การฆ่าเชื้อด้วยสารเคมี (การเติมคลอรีน) และบางครั้งก็ใช้วิธีการขั้นสูง เช่น การบำบัดด้วย UV และ Reverse Osmosis

อ่านต่อ : น้ำ RO คืออะไร? มีคุณสมบัติอะไร? มีข้อดี ข้อเสียยังไง?

6.2 มาตรฐานการกำกับดูแลที่เข้มงวด

  • กฎระเบียบและมาตรฐาน : หลายประเทศมีกฎระเบียบและมาตรฐานที่เข้มงวดสำหรับคุณภาพน้ำดื่มที่กำหนดโดยหน่วยงานด้านสุขภาพแห่งชาติและองค์กรระหว่างประเทศ เช่น องค์การอนามัยโลก (WHO)
  • การตรวจสอบเป็นประจำ : มีการตรวจสอบคุณภาพน้ำเป็นประจำ และมีขั้นตอนการทดสอบที่เข้มงวดเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นไปตามหรือเกินมาตรฐานความปลอดภัย

6.3 ระบบจ่ายน้ำที่มีประสิทธิภาพ

  • โครงสร้างพื้นฐานได้รับการดูแลอย่างดี : โครงสร้างพื้นฐานการจ่ายน้ำ รวมถึงท่อน้ำและถังเก็บน้ำ ได้รับการดูแลอย่างดี เพื่อป้องกันการปนเปื้อน
  • การบำรุงรักษา : มีการบำรุงรักษาและปรับปรุงเป็นประจำ เพื่อให้ระบบจ่ายน้ำอยู่ในสภาพดี ลดความเสี่ยงในการรั่วไหลแ ละการปนเปื้อนให้เหลือน้อยที่สุด

6.4 การปกป้องแหล่งน้ำ

  • แหล่งน้ำได้รับการดูแลเป็นอย่างดี : เช่น แม่น้ำ ทะเลสาบ แหล่งน้ำใต้ดิน มักได้รับการป้องกันจากมลพิษและการปนเปื้อน ผ่านกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม
  • แนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน : มีการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน เพื่อให้แน่ใจว่าแหล่งน้ำสะอาดมีคุณภาพและพร้อมใช้งานในระยะยาว

6.5 การสร้างความตระหนักและให้ความรู้แก่ประชาชน

  • แคมเปญด้านสาธารณสุข : มีการให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับความสำคัญของการรักษาคุณภาพน้ำ มีแนวทางปฏิบัติด้านสุขอนามัยที่เหมาะสม และวิธีป้องกันการปนเปื้อน
  • การมีส่วนร่วมของชุมชน : ชุมชนมักมีส่วนร่วมในแนวทางปฏิบัติด้านการจัดการน้ำในท้องถิ่น เพื่อให้แน่ใจว่ามีความพยายามร่วมกัน ในการรักษาความปลอดภัยของน้ำดื่ม

ตัวอย่างประเทศที่มีน้ำประปาที่สามารถดื่มได้

  1. สหรัฐอเมริกา : สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม (EPA) ทำหน้าที่ควบคุมระบบน้ำประปาและกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำ
  2. แคนาดา : กระทรวงสาธารณสุขของแคนาดากำหนดแนวปฏิบัติด้านคุณภาพน้ำดื่ม และเทศบาลต่างๆ จัดให้มีการบำบัดน้ำที่มีคุณภาพสูง
  3. เยอรมนี : กฎหมายน้ำดื่มของเยอรมนีกำหนดให้มีการทดสอบอย่างเข้มงวดและมาตรฐานคุณภาพน้ำอยู่ในระดับสูง
  4. สวีเดน : กระบวนการบำบัดน้ำและการปกป้องสิ่งแวดล้อมของสวีเดนทำให้มั่นใจได้ว่าน้ำดื่มจะมีคุณภาพสูง
  5. ญี่ปุ่น : มีเทคโนโลยีการบำบัดน้ำขั้นสูงและมาตรฐานคุณภาพน้ำที่เข้มงวด บังคับใช้โดยกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ

ทำให้มั่นใจได้ว่าน้ำประปาในประเทศเหล่านี้ ปลอดภัยสำหรับการบริโภคโดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งระบบกรองน้ำเพิ่มเติมครับ

ro50gpd 100gpd 150gpd

เครื่องกรองน้ำ ระบบ RO

ได้รับการยอมรับว่าสะอาดสูงสุด

ระบบ RO เป็นวิธีการกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด สะอาด รสชาติอร่อย และยังได้รับการรับรองจาก EPA (Environmental Protection Agency - USA) มีกำลังการผลิตตั้งแต่ RO50GPD-1,200GPD โดย GPD ย่อมาจากคำว่า Gallon per day

สรุป

  1. น้ำประปาในประเทศไทย แม้จะผ่านกระบวนการบำบัดจากหน่วยงานกำกับดูแลอย่างการประปานครหลวง และการประปาภูมิภาค ก็ไม่สามารถการันตีความปลอดภัยของน้ำดื่มได้ 100%
  2. เพราะมีข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้มีปัญหาระหว่างการจ่ายน้ำ ได้แก่ ท่อน้ำมีความผุกร่อน เก่า มีสิ่งปนเปื้อน มีสนิม แตกหัก ชำรุด และไม่ได้รับการบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม
  3. เราจำเป็นหาทางเลือกอื่น เพื่อให้เข้าถึงน้ำสะอาดบริสุทธิ์และปลอดภัยต่อสุขภาพมากกว่า ได้แก่ การซื้อน้ำขวด การติดตั้งเครื่องกรองน้ำ การกดน้ำจากตู้น้ำหยอดเหรียญ และการต้มน้ำให้เดือด แต่ละวิธีจะมีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการส่วนบุคคล
  4. หากเราดื่มน้ำประปาโดยไม่ผ่านกระบวนการกรองให้ถูกวิธี ก็มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ เพราะในน้ำมีสิ่งปนเปื้อน เช่น เชื้อโรค ไวรัส แบคทีเรีย ทำให้เกิดโรคต่างๆภายในร่างกายได้
  5. นอกจากนี้เราควรรู้จักมาตรฐานคุณภาพน้ำดื่ม กระทรวงสาธารณสุข เพราะมีการกำหนดเกณฑ์คุณภาพทางฟิสิกส์ เคมี และจุลชีววิทยาต่างๆโดยอ้างอิงตามแนวทางที่กำหนดโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจสอบคุณภาพน้ำที่เชื่อถือได้

ล้างตู้กดน้ำเย็นกับเรา

สยามคูลเลอร์ มาร์ท แอนด์ เซอร์วิส รับบริการล้างตู้ทำน้ำเย็น ถังคว่ำ, ถังล่าง, กรองในตัว, ต่อตรงท่อประปา พร้อมตรวจเช็คอะไหล่ตู้น้ำดื่มด้านใน มีผลงานจริงให้รับชมทั้งรูปภาพและวิดีโอ คลิกปุ่มด้านล่างเพื่ออ่านรายละเอียด

เงื่อนไขการให้บริการ

  1. ราคาขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการให้บริการ เช่น ราคาส่งอย่างเดียว ราคาส่งพร้อมติดตั้ง สามารถสอบถามและขอใบเสนอราคาได้ตามช่องทางติดต่อด้านล่าง
  2. ส่งสินค้าฟรีเฉพาะเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล
  3. หากลูกค้าอยู่ต่างจังหวัด มี 2 กรณี

    3.1 ส่งอย่างเดียวโดยการใช้บริการขนส่ง ค่าขนส่งขึ้นอยู่กับระยะทางและน้ำหนักสินค้า จ่ายต้นทางหรือปลายทางขึ้นอยู่กับการตกลง
    3.2 ทางเราดำเนินการส่งเองพร้อมติดตั้งให้ โดยจะมีการคิดค่าน้ำมันตามระยะทางไป-กลับ

หมายเหตุ : ทางเราไม่ได้มีบริการติดตั้งทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย เช่น ภาคเหนือ ภาคใต้ ทางเราไม่มีบริการติดตั้ง ขึ้นอยู่กับระยะทางและปริมาณการซื้อขาย สามารถทักมาสอบถามพูดคุยเบื้องต้นก่อนได้ตามช่องทางการติดต่อด้านล่าง

  • การติดตั้งไม่รวมถึงการเดินท่อประปา, ท่อน้ำทิ้ง, ปลั๊กไฟ และสายไฟ สิ่งเหล่านี้เป็นความรับผิดชอบของลูกค้า
  • ติดตั้งฟรีหน้างานในระยะไม่เกิน 5 เมตร จากจุดเชื่อมน้ำประปา ก๊อกน้ำ หรือวาล์วน้ำ เป็นสายอ่อน 2 หุน
  • ไม่รับประกันอุปกรณ์ที่เสื่อมสภาพตามการใช้งาน เช่น ก๊อกน้ำ แกนก๊อก ไส้กรองน้ำ
  • มีตู้สำรองให้ใช้ระหว่างการซ่อมตลอดอายุการใช้งาน หากต้องยกตู้เข้าโรงงานเพื่อตรวจเช็ค
สอบถามข้อมูล สั่งซื้อสินค้า ขอใบเสนอราคา
Line คลิกที่นี่เพื่อ Chat ทันที
E-mail siamcooler1@gmail.com
Facebook @siamcooler
Youtube @siamcooler
ออฟฟิศ 02-539-2630 02-539-2607
  02-538-6343  
มือถือ 092-364-4629 (ฝ่ายขาย) 087-935-1415 (ฝ่ายซ่อมบำรุง)
แฟกซ์ 02-931-1381  

Siamcooler Mart and Service ยินดีให้คำปรึกษาและให้บริการอย่างเต็มความสามารถเพื่อช่วยลูกค้าแก้ปัญหา เปรียบเสมือนแผนกหนึ่งในองค์กรที่ช่วยดูแลเรื่องตู้กดน้ำ ไส้กรองน้ำ เครื่องกรองน้ำ อะไหล่ และบริการบำรุงรักษา เช่น การล้างทำความสะอาด การซ่อมบำรุง การทำสัญญาบริการรายปี

ประสบการณ์กว่า 20 ปี มีฐานลูกค้ามากกว่า 6,000 ราย ได้รับความไว้วางใจจากภาครัฐ เอกชน โรงเรียน ครัวเรือน และขยายฐานลูกค้าอย่างต่อเนื่อง จากการบอกต่อของลูกค้าที่ประทับใจในการใช้บริการกับเรา สามารถชื่นชมผลงานที่ผ่านมาของเราได้ที่นี่

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *