1. คุณภาพน้ำดื่มตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข
คุณภาพ (Quality) หมายถึง การเป็นไปตามความต้องการหรือสอดคล้องกับข้อกำหนด ดังนั้นคุณภาพน้ำดื่ม คือ น้ำดื่มที่มีความสะอาดปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภค โดยเป็นไปตามมาตรฐานและกฎเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด แล้วใครเป็นคนกำหนด? คำตอบคือกระทรวงสาธารณสุขครับ เขาเป็นหน่วยงานที่ออกเกณฑ์มาตรฐานว่าด้วยเรื่อง “น้ำบริโภคในภาชนะที่บรรจุปิดสนิท” ซึ่งกำหนดเกณฑ์มาตรฐานไว้ 3 ด้าน ได้แก่
- ด้านฟิสิกส์
- ด้านเคมี
- ด้านจุลินทรีย์
สิ่งที่เราควรรู้ก็คือ มีอะไรอยู่ในน้ำบ้าง? แล้วเราจะจัดการมันยังไง? เราอาจมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่จริงๆมีสิ่งปนเปื้อนแฝงอยู่มากมาย ประกาศจากกระทรวงสาธารณสุขเปรียบเสมือนแผนที่นำทาง ทำให้เรารู้ว่าสิ่งปนเปื้อนต่างๆมีอะไรบ้าง? แบ่งประเภทยังไง? และไม่ควรมีค่าเกินเท่าไหร่? มีผลกระทบต่อสุขภาพไหม? ทำให้เราแก้ปัญหาเรื่องน้ำได้ถูกจุดครับ
1.1 คุณภาพทางฟิสิกส์
เรียกอีกอย่างว่า “คุณภาพทางกายภาพ” เรามักรับรู้ได้จากประสาทสัมผัส เช่น สี กลิ่น ความขุ่น ความเป็นกรด-ด่าง ไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพ แต่ไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคครับ
- ความขุ่นเกิดจากในน้ำมีสารละลาย (ที่ไม่ละลายน้ำ) ขนาดเล็กแขวนลอยอยู่ ทำให้น้ำไม่น่าดื่ม มีผลกระทบต่อการกรอง ทำให้เครื่องกรองน้ำอุดตันและเสียเร็วอีกด้วย
- ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) บอกให้ทราบถึงประเภทสิ่งเจือปนในน้ำ ไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพ แต่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ น้ำที่มีค่า pH ต่ำ ทำให้ระบบท่อน้ำเกิดการกัดกร่อนได้ง่าย และโอกาสการปนเปื้อนของโลหะในน้ำสูงขึ้น
เครื่องทำน้ำเย็น ราคาโรงงาน
⭐ สะอาด ประหยัด ใช้งานง่าย ⭐
ไม่ต้องลำบากซื้อน้ำแพ็คให้เปลืองเงิน แค่เดินไปกรอกน้ำก็ดื่มได้ทันที เหมาะกับออฟฟิศสำนักงาน โรงงาน โรงเรียนที่มีคนจำนวนมาก ทำให้ทุกคนเข้าถึงน้ำสะอาดได้ง่าย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกด้วยครับ
เช็คราคาเครื่องทำน้ำเย็น1.2 คุณภาพทางเคมี
เป็นการปนเปื้อนของโลหะหนัก สารพิษ ยาฆ่าแมลง ข้อมูลขององค์กรอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) ได้สรุปแหล่งที่มาของสารเคมีชนิดต่างๆที่ปนเปื้อนในน้ำดื่มไว้ 5 แหล่ง ได้แก่
- ธรรมชาติ
- อุตสาหกรรม
- เกษตรกรรม
- กระบวนการผลิตหรือวัสดุสัมผัสน้ำดื่ม
- สารที่ใช้กำจัดศัตรูพืชหรือแมลง
โลหะหนักและสารเคมีบางชนิดมีความเป็นพิษสูง เป็นสาเหตุของอาการเจ็บป่วยแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง บางชนิดสามารถก่อให้เกิดมะเร็งได้
ตารางแหล่งที่มาและชนิดของสารเคมีหรือโลหะที่พบได้ในน้ำดื่ม
แหล่งที่มาของสารเคมี | ตัวอย่างแหล่งที่มา | ชนิดของสารเคมี / โลหะที่พบ |
ธรรมชาติ | จากดิน หิน แหล่งน้ำตามธรรมชาติ สภาพแวดล้อมตามภูมิประเทศ และภูมิอากาศ | สารหนู แบเรียม โบรอน โครเมียม ฟลูออไรด์ ซีลีเนียม เหล็ก เป็นต้น |
อุตสาหกรรม | จากอุตสาหกรรมเหมือง กระบวนการผลิตและของเสียที่เกิดขึ้น การรั่วไหลของเชื้อเพลิง | ตะกั่ว ไซยาไนด์ สารหนู แคดเมียม ปรอท เป็นต้น |
เกษตรกรรม | จากการใช้ปุ๋ยเคมี (การชะล้างหน้าดินในพื้นที่เกษตรกรรม) | สารไนเตรท ไนไตรท์ เป็นต้น |
กระบวนการผลิตหรือวัสดุสัมผัสน้ำดื่ม | จากกระบวนการกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อนที่ก่อให้เกิดสารผลิตภัณฑ์ หรือจากวัสดุที่สัมผัสน้ำ เช่น ท่อส่งน้ำ เป็นต้น | สารโบรเมต สารไตรฮาโลมีเทน ซึ่งเกิดจากการใช้โอโซน และคลอรีนในการฆ่าเชื้อ หรือโลหะหนัก ตะกั่ว นิกเกิล ทองแดง พลวง ซึ่งมาจากท่อส่งน้ำในกระบวนการผลิต เป็นต้น |
สารกำจัดศัตรูพืชหรือแมลง | จากการใช้สารเคมีกำจัด ตัวอ่อนของแมลงและยุง เป็นต้น | สารพาราควอท ไกลโฟเซต คลอร์ไพริฟอส เป็นต้น |
แหล่งที่มา : World Health Organization. (2017). Guidelines for drinking-water quality: first addendum to the fourth edition.
1.3 คุณภาพทางจุลินทรีย์
จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า เราสามารถพบจุลินทรีย์ได้ทุกสภาวะแวดล้อม ปัญหาด้านจุลินทรีย์ในน้ำดื่มเป็นผลมาจากการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เชื้อก่อโรคที่มาจากคนและสัตว์ เมื่อเราบริโภคน้ำที่ไม่สะอาด มีจุลินทรีย์ก่อโรคปนเปื้อน ก็ก่อให้เกิดการเจ็บป่วย หรือเกิดการระบาดของโรคที่มีน้ำเป็นสื่อ (Waterborne disease) ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญต่อการควบคุมคุณภาพของน้ำดื่ม ส่วนใหญ่ชนิดของเชื้อจุลินทรีย์ที่สามารถพบได้ในน้ำดื่ม ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส และโปรโตชัว
เครื่องกรองน้ำ ระบบ RO
⭐ ได้รับการยอมรับว่าสะอาดสูงสุด ⭐
ระบบ RO เป็นวิธีการกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด สะอาด รสชาติอร่อย และยังได้รับการรับรองจาก EPA (Environmental Protection Agency - USA) มีกำลังการผลิตตั้งแต่ RO50GPD-1,200GPD โดย GPD ย่อมาจากคำว่า Gallon per day
1.3.1 แบคทีเรีย (Bacteria)
พบได้ทั่วไปในธรรมชาติ ดิน น้ำ อากาศ มีทั้งประโยชน์และโทษ แบคทีเรียเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น แบคทีเรียมีรูปร่างหลายแบบ เช่น แบบกลม แบบท่อน แบบเกลียว ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีการจัดเรียงเซลล์ต่างกัน บางชนิดสามารถเจริญและเพิ่มจำนวนในน้ำ และสามารถอยู่รอดในน้ำได้
ตัวอย่างชนิดแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรครุนแรง เช่น
- เชื้อวิบริโอ คอเลอรี (Vibrio cholerae) ก่อให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง และเป็นสาเหตุของอหิวาตกโรค
- เชื้อซัลโมเนลลา (Salmonella Typhi) ก่อให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง โลหิตเป็นพิษ และไข้ไทฟอยด์
- เชื้อชิเจลลาไดเซนเทอรี (Shigella dysenteriae) ก่อให้เกิดโรคบิด และอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง
- เชื้อสแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) สามารถพบเป็นเชื้อประจำถิ่น (Normal flora) ในมนุษย์ และยังเป็นสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษ ทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ปวดท้อง และอาจเกิดภาวะช็อค
Vibrio cholerae
Salmonella Typhi
Shigella dysenteriae
1.3.2 ไวรัส (Virus)
เป็นคำศัพท์มาจากภาษาละติน แปลว่า พิษ เชื้อไวรัสสามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ทั้งในมนุษย์ สัตว์ พืช และแบคทีเรีย ไวรัสเป็นปรสิตอยู่ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตอื่น ไม่สามารถเจริญเติบโตหรือแพร่พันธุ์นอกเซลล์อื่นได้ ก่อให้เกิดโรคที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง ไวรัสมีหลายชนิด และมีรูปแบบแตกต่างกัน มีขนาดเล็กมาก ซึ่งทำให้ยากต่อการกำจัดโดยกระบวนการทางกายภาพ เช่น การกรอง เป็นต้น
ไวรัสสามารถอยู่รอดในน้ำได้นานและค่อนข้างทนต่อสารฆ่าเชื้อ เช่น คลอรีน เป็นต้น บางชนิดสามารถทนต่อแสงยูวีได้ดี เช่น เชื้อไวรัสอะดีโน (Adenovirus) เป็นต้น อีกทั้งยังมีความสามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อได้สูง กล่าวคือ เมื่อได้รับไวรัสในปริมาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อได้
เครื่องทำน้ำเย็น WP9HC
⭐ Best Seller ⭐
เหมาะกับออฟฟิศและสำนักงานที่มีจำนวนผู้ใช้งานประมาณ 20 คน เป็นสินค้าขายดีต่อเนื่องติดต่อกันกว่า 10 ปีในงบประมาณไม่เกิน 10,000 บาท
คลิกเพื่อดูรายละเอียดตัวอย่างชนิดของไวรัสที่มักพบว่าเป็นสาเหตุของโรคโดยอาศัยน้ำดื่มเป็นสื่อ เช่น
- เชื้อไวรัสอะดีโน (Adenovirus) เป็นสาเหตุของการอักเสบในกระเพาะอาหารและลำไส้ และสามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อในหลายระบบของร่างกาย
- เชื้อไวรัสโรต้า (Rotavirus) เป็นสาเหตุของโรคอาหาร เป็นพิษในเด็ก โดยพบว่า 50-60% ของเด็กที่ป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษ เกิดจากเชื้อไวรัสโรต้า อีกทั้งยังเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตในเด็ก
- เชื้อไวรัสเอนเทอโร (Enterovirus) เป็นสาเหตุโรคมือ-เท้า-ปาก (Hand-foot-and-mouth disease)
- เชื้อไวรัสโนโร (Norovirus) เป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคทางเดินอาหารอักเสบเฉียบพลัน
Adenovirus
Rotavirus
Norovirus
1.3.3 โปรโตชัว (Protozoa)
เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว โปรโตชัวบางชนิดเป็นปรสิตของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง และสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง รวมทั้งมนุษย์ ทนต่อกลิ่นคลอรีนได้ดี เนื่องจากมีขนาดใหญ่กว่า 2 ไมครอน สามารถกำจัดได้โดยกระบวนการทางกายภาพ เช่น การกรอง เป็นต้น
ตัวอย่างชนิดของเชื้อโปรโตชัวที่มักพบว่าเป็นสาเหตุของโรคโดยอาศัยน้ำดื่มเป็นสื่อ เช่น
- เชื้อจิอาร์เดีย อินเทสทินาลิส (Giardia intestinalis) เป็นปรสิตที่สามารถยึดเกาะอยู่ภายในลำไส้ของมนุษย์ เป็นสาเหตุของอาการท้องร่วง
- เชื้อเอนตามีบา ฮิสโทไลติกา (Entamoeba histolytica) เป็นเชื้อปรสิตที่สามารถบุกรุกเยื่อบุลำไส้ เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคบิดมีตัว เกิดการอักเสบและท้องร่วง
- เชื้อคริปโตสปอริเดียม โฮมินิส (Cryptosporidium hominis) ก่อให้เกิดอาการท้องร่วง คลื่นไส้ อาเจียน และมีไข้
Giardia intestinalis
Entamoeba histolytica
Cryptosporidium hominis
2.1 ด้านฟิสิกส์
คุณภาพ | ค่ามาตรฐานไม่เกิน | ผลกระทบต่อสุขภาพ | แนวทางแก้ไข/การควบคุม |
สี (ฮาเซนยูนิต) | 20 | ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ แต่ไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค น้ำที่มีสีแสดงว่ามีสารอินทรีย์ละลายอยู่ในน้ำ | การเติมอากาศ
การกรองผ่านไส้กรองคาร์บอน หรือเรซิ่น |
กลิ่น | ไม่มีกลิ่น | ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
ไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค |
การเติมอากาศ
การกรองด้วยวัสดุที่ดักจับกลิ่น เช่น ผงถ่าน |
ความขุ่น (ซิลิกาสเกล) | 5 | ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ แต่ทำให้การฆ่าเขื้อโรคไม่สมบูรณ์ และเป็นตัวกระตุ้นให้เชื้อโรคมีการเจริญเติบโต | การกรอง และการตกตะกอน |
ความเป็นกรด-ด่าง (pH) | 6.5-8.5 | ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ แต่จะมีผลต่อคุณภาพน้ำ เช่น ทำให้การปนเปื้อนของโลหะในน้ำสูงขึ้น มีผลต่อการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย | การปรับสภาพน้ำ และการกรอง |
เครื่องกรองน้ำ 5 ขั้นตอน ระบบ UF
⭐ ลูกค้านิยมใช้ ⭐
สะอาด ปลอดภัย ราคาไม่แพง ประกอบด้วยไส้กรองตะกอน, ไส้กรองคาร์บอน, ไส้กรองเรซิ่น, ไส้กรอง UF และไส้กรอง Post Carbon กำจัดสิ่งสกปรกในน้ำ ดีต่อสุขภาพ
2.2 ด้านเคมี
คุณภาพ | ค่ามาตรฐานไม่เกิน | ผลกระทบต่อสุขภาพ | แนวทางแก้ไข/การควบคุม |
ปริมาณของแข็งทั้งหมด (มิลลิกรัมต่อลิตร) | 500 | ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ เป็นดัชนีบอกถึงปริมาณเกลือแร่ในน้ำ และส่งผลต่อรสชาติของน้ำ | การกรองและการตกตะกอน |
ความกระด้าง (มิลลิกรัมต่อลิตร) | 100 | ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
เกิดจากมีหินปูนละลายอยู่ ทำให้เกิดคราบตามผนังและท่อ |
การกรองผ่านเรซิ่น |
สารหนู
(มิลลิกรัมต่อลิตร) |
0.05 | สารพิษร้ายแรงทำลายระบบสมอง ตับ และเซลล์ในร่างกาย | การกรองแบบ RO
การกรองผ่านเรซิ่น |
แบเรียม
(มิลลิกรัมต่อลิตร) |
1.0 | ส่งผลให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง | การตกตะกอนด้วยสารเคมี
การกรองผ่านเรซิ่น |
แคดเมียม
(มิลลิกรัมต่อลิตร) |
0.005 | สารพิษร้ายแรง สะสมไว้นานๆจะทำลายไต | การตกตะกอนด้วยสารเคมี และการทำ Softening |
คลอไรด์
(มิลลิกรัมต่อลิตร) |
250 | ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ แต่ทำให้รสชาติของน้ำแตกต่างไป และปริมาณคลอไรด์ที่สูง ทำให้ปริมาณโลหะในน้ำสูงขึ้น | การกรองผ่าน RO |
โครเมียม
(มิลลิกรัมต่อลิตร) |
0.05 | เป็นแร่ธาตุที่มีประโยชน์ แต่ถ้าได้รับปริมาณมากเกินไป จะทำให้ดีเอ็นเอ (DNA) ถูกทำลาย และเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง | การตกตะกอนด้วยสารเคมี |
ทองแดง
(มิลลิกรัมต่อลิตร) |
1.0 | เปนแร่ธาตุที่มีประโยชน์ แต่ถ้าได้รับมากเกินไปจะทำให้แมกนีเซียมที่สะสมในร่างกายลดลง เกิดภาวะกระดูกพรุนและแตก | การกรองผ่านเรซิ่น |
เหล็ก
(มิลลิกรัมต่อลิตร) |
0.3 | ถ้าได้รับปริมาณมากจะไปสะสมที่ตับ ไต ระบบหัวใจ และหลอดเลือด เป็นอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาว | การตกตะกอน และ
การกรองผ่าน RO การแลกเปลี่ยนประจุ |
ตะกั่ว
(มิลลิกรัมต่อลิตร) |
0.05 | เป็นพิษเฉียบพลัน ทำให้อาเจียน มีอาการทางประสาทและกล้ามเนื้อ ถ้าได้รับปริมาณมากอาจถึงตายได้ | ควบคุมการกัดกร่อน
การตกตะกอนด้วยสารเคมีหรือการกรอง |
แมงกานีส
(มิลลิกรัมต่อลิตร) |
0.05 | เป็นแร่ธาตุที่มีประโยชน์ แต่ถ้าได้รับปริมาณมากเกินไปจะขัดขวางการดูดซึมแร่ธาตุ | การกรองแบบ RO
การกรองผ่านเรซิ่น |
ปรอท
(มิลลิกรัมต่อลิตร) |
0.002 | สารพิษร้ายแรง ทำลายสมองและไต | ตกตะกอนด้วยสารเคมี
และการกรองผ่านเรซิ่น |
ไนเตรทคำนวณเป็นไฮโดรเจน
(มิลลิกรัมต่อลิตร) |
4.0 | เปลี่ยนเป็นไนไตรท์และไนโตรซามีน เป็นสารก่อมะเร็ง น้ำที่มีปริมาณไนเตรทสูง ถ้านำมาใช้ดื่มหรือประกอบอาหารให้เด็ก จะทำให้เลือดขาดออกซิเจน และทำให้ตัวเขียว | การกรองแบบ RO หรือการกรองผ่านเรซิ่น |
ฟีนอล
(มิลลิกรัมต่อลิตร) |
0.001 | มีความเป็นพิษและเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง | การกรองแบบ RO
การกรองผ่านเรซิ่น |
ซีลีเนียม
(มิลลิกรัมต่อลิตร) |
0.01 | หากได้รับในปริมาณมาก จะมีความเป็นพิษ | การกรองแบบ RO
การกรองผ่านเรซิ่น |
เงิน
(มิลลิกรัมต่อลิตร) |
0.05 | ถ้าได้รับปริมาณมากเป็นพิษต่อไต | การกรองแบบ RO
การกรองผ่านเรซิ่น |
ซัลเฟต
(มิลลิกรัมต่อลิตร) |
250 | ถ้าได้รับในปริมาณมากทำให้ท้องร่วง | การกรองแบบ RO
การกรองผ่านเรซิ่น |
สังกะสี
(มิลลิกรัมต่อลิตร) |
5 | เป็นแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในปริมาณน้อย แต่ถ้ามีปริมาณจะทำให้น้ำมีรสฝาด | การกรองแบบ RO
การกรองผ่านเรซิ่น |
ฟลูออไรด์
(มิลลิกรัมต่อลิตร) |
0.7 | มีประโยชน์ต่อร่างกาย ถ้าได้รับเป็นเวลานานจะเกิดความเป็นพิษเรื้อรัง เรียกว่า “fluorosis” เกิดขึ้นได้ในเด็กและผู้ใหญ่ | ตกตะกอนและการกรอง |
อะลูมีเนียม
(มิลลิกรัมต่อลิตร) |
0.2 | ก่อให้เกิดโรคกระดูกพรุน และยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็ก ทำให้ร่างกายขาดธาตุเหล็ก | การกรองแบบ RO
การกรองผ่านเรซิ่น |
เอบีเอส (Alkylbenzene sulfonate) | 0.2 | มักใช้ในผลิตภัณฑ์ซักล้าง มีผลทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุ | การกรองแบบ RO
การกรองผ่านเรซิ่น |
ไซยาไนด์
(มิลลิกรัมต่อลิตร) |
0.1 | มีความเป็นพิษสูงแบบเฉียบพลัน | การกรองผ่านเรซิ่น |
เครื่องทำน้ำร้อน น้ำเย็น สแตนเลส S300-C2-H1
⭐ Stainless Steel 304 ⭐
ตู้กดน้ำเย็น น้ำร้อน ทำจากสแตนเลส 304 นำเข้าจากญี่ปุ่น นิยมใช้ในโรงงาน โกดัง ยี่ห้อ Standard รับประกันคอมเพรสเซอร์ 2 ปีเต็ม
2.3 ด้านจุลินทรีย์
คุณภาพ | ค่ามาตรฐานไม่เกิน | ผลกระทบต่อสุขภาพ | แนวทางแก้ไข/การควบคุม |
แบคทีเรียชนิดโคลิฟอร์ม (Coliforms) (MPN/100 มิลลิลิตร) | น้อยกว่า 2.2 | พบได้ทั่วไปในสิ่งแวดล้อม และอุจจาระของมนุษย์ และสัตว์ เป็นดัชนีแสดงถึงสุขลักษณะการผลิต | การกรอง การใช้สารกำจัด เช่น คลอรีน แสงยูวี โอโซน |
E.coli | ไม่พบ | เป็นเชื้อที่พบในอุจจาระของมนุษย์และสัตว์ บางชนิดก่อให้เกิดโรค เป็นดัชนีแสดงถึงการปนเปื้อนอุจจาระ | การกรอง การใช้สารกำจัด เช่น คลอรีน แสงยูวี โอโซน |
จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค | |||
Salmonella spp. | ไม่พบใน 100 มิลลิลิตร | ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ ท้องร่วง อาเจียน ปวดท้อง บางชนิดก่อให้เกิดไข้ไทฟอยด์ | การกรอง การใช้สารกำจัด เช่น คลอรีน แสงยูวี โอโซน |
Staphylococcus aureus | ไม่พบใน 100 มิลลิลิตร | ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ ท้องร่วง อาเจียน ท้องร่วง อาจเกิดภาวะช็อค | การกรอง การใช้สารกำจัด เช่น คลอรีน แสงยูวี โอโซน |
แหล่งที่มาของตาราง :
- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 (พ.ศ.2524) เรื่องน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
- มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค
แหล่งที่มาข้อมูล : คู่มือมาตรฐานน้ำดื่มประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
สรุป
เราจะรู้ได้ยังไงว่าคุณภาพน้ำที่เราดื่มดีมากน้อยแค่ไหน? เราก็ต้องใช้เกณฑ์มาตรฐานที่ถูกกำหนดจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ นั่นคือ “ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 (พ.ศ.2524) เรื่องน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท” จริงๆยังมีประกาศฉบับอื่นๆอีกนะครับ ไว้คราวหน้าผมจะศึกษามาให้
ประกาศนี้จะให้คำตอบกับเราว่า สิ่งปนเปื้อนในน้ำมีอะไรบ้าง? มีได้ไม่เกินเท่าไหร่ถึงจะปลอดภัย? ผลกระทบต่อสุขภาพมีอะไรบ้าง? และหากมีสิ่งปนเปื้อนชนิดนี้มากเกินไปต้องแก้ไขยังไง? ทำให้เรารู้แนวทางแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง เปรียบเสมือน Google Map นำทางที่ทำให้น้ำดื่มของเราสะอาดและปลอดภัยต่อสุขภาพครับ ทุกวันนี้ออฟฟิศสำนักงานจึงนิยมใช้เครื่องทำน้ำเย็น กรองในตัว เพราะมีไส้กรองน้ำกำจัดสิ่งสกปรกให้ โดยไม่ต้องเหนื่อยซื้อน้ำเองเลยครับ >>เช็คราคาเครื่องทำน้ำเย็นได้ที่นี่<<
เงื่อนไขการให้บริการ
- ราคาขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการให้บริการ เช่น ราคาส่งอย่างเดียว ราคาส่งพร้อมติดตั้ง สามารถสอบถามและขอใบเสนอราคาได้ตามช่องทางติดต่อด้านล่าง
- ส่งสินค้าฟรีเฉพาะเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล
- หากลูกค้าอยู่ต่างจังหวัด มี 2 กรณี
3.1 ส่งอย่างเดียวโดยการใช้บริการขนส่ง ค่าขนส่งขึ้นอยู่กับระยะทางและน้ำหนักสินค้า จ่ายต้นทางหรือปลายทางขึ้นอยู่กับการตกลง
3.2 ทางเราดำเนินการส่งเองพร้อมติดตั้งให้ โดยจะมีการคิดค่าน้ำมันตามระยะทางไป-กลับ
หมายเหตุ : ทางเราไม่ได้มีบริการติดตั้งทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย เช่น ภาคเหนือ ภาคใต้ ทางเราไม่มีบริการติดตั้ง ขึ้นอยู่กับระยะทางและปริมาณการซื้อขาย สามารถทักมาสอบถามพูดคุยเบื้องต้นก่อนได้ตามช่องทางการติดต่อด้านล่าง
- การติดตั้งไม่รวมถึงการเดินท่อประปา, ท่อน้ำทิ้ง, ปลั๊กไฟ และสายไฟ สิ่งเหล่านี้เป็นความรับผิดชอบของลูกค้า
- ติดตั้งฟรีหน้างานในระยะไม่เกิน 5 เมตร จากจุดเชื่อมน้ำประปา ก๊อกน้ำ หรือวาล์วน้ำ เป็นสายอ่อน 2 หุน
- ไม่รับประกันอุปกรณ์ที่เสื่อมสภาพตามการใช้งาน เช่น ก๊อกน้ำ แกนก๊อก ไส้กรองน้ำ
- มีตู้สำรองให้ใช้ระหว่างการซ่อมตลอดอายุการใช้งาน หากต้องยกตู้เข้าโรงงานเพื่อตรวจเช็ค
สอบถามข้อมูล สั่งซื้อสินค้า ขอใบเสนอราคา
Line | คลิกที่นี่เพื่อ Chat ทันที | |
siamcooler1@gmail.com | ||
@siamcooler | ||
Youtube | @siamcooler | |
ออฟฟิศ | 02-539-2630 | 02-539-2607 |
02-538-6343 | ||
มือถือ | 092-364-4629 (ฝ่ายขาย) | 087-935-1415 (ฝ่ายซ่อมบำรุง) |
แฟกซ์ | 02-931-1381 |
Siamcooler Mart and Service ยินดีให้คำปรึกษาและให้บริการอย่างเต็มความสามารถเพื่อช่วยลูกค้าแก้ปัญหา เปรียบเสมือนแผนกหนึ่งในองค์กรที่ช่วยดูแลเรื่องตู้กดน้ำ ไส้กรองน้ำ เครื่องกรองน้ำ อะไหล่ และบริการบำรุงรักษา เช่น การล้างทำความสะอาด การซ่อมบำรุง การทำสัญญาบริการรายปี
ประสบการณ์กว่า 20 ปี มีฐานลูกค้ามากกว่า 6,000 ราย ได้รับความไว้วางใจจากภาครัฐ เอกชน โรงเรียน ครัวเรือน และขยายฐานลูกค้าอย่างต่อเนื่อง จากการบอกต่อของลูกค้าที่ประทับใจในการใช้บริการกับเรา สามารถชื่นชมผลงานที่ผ่านมาของเราได้ที่นี่