คุณภาพน้ำ หมายถึง? ปรับปรุงน้ำยังไงให้ดื่มได้อย่างปลอดภัย?

คุณภาพน้ำ หมายถึง

1. คุณภาพน้ำ หมายถึง?

คุณภาพน้ำ หมายถึง ลักษณะและคุณสมบัติของน้ำที่เหมาะสมในการใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ เช่น การดื่ม, การเกษตรกรรม, อุตสาหกรรม, สุขภาพ, สิ่งแวดล้อม โดยประเมินจาก…

  1. องค์ประกอบทางเคมี เช่น โลหะหนัก ตะกั่ว สารหนู สารประกอบอินทรีย์ แร่ธาตุ
  2. คุณสมบัติทางกายภาพ เช่น ความขุ่น กลิ่น สี อุณหภูมิ
  3. สารปนเปื้อนทางชีวภาพ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต
  4. รสชาติและกลิ่น เช่น คลอรีน สาหร่าย
  5. ระดับ pH ความเป็นกรดหรือด่าง มีผลต่อการกัดกร่อนของท่อและการฆ่าเชื้อโรค
  6. ปริมาณสารละลายในน้ำ (TDS) หรือของแข็งที่ละลายน้ำได้
  7. การปนเปื้อนของจุลินทรีย์ เช่น E.coli
  8. ระดับสารอาหาร เช่น ไนเตรต ฟอสเฟส
ดังนั้นถ้าเราต้องการให้น้ำมีคุณภาพสูง ก็ต้องกำจัดหรือลดสิ่งปนเปื้อนด้านบนให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และปลอดภัย เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การใช้น้ำของเรา กระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำก็มีหลากหลายรูปแบบ แต่มีเป้าหมายเดียวกัน คือทำให้น้ำมีความสะอาด ปลอดภัยต่อผู้บริโภคตามมาตรฐานคุณภาพน้ำที่กำหนดโดยหน่วยงานต่างๆ
เครื่องกรองน้ำ 5 ขั้นตอน WP-UF01

เครื่องกรองน้ำ 5 ขั้นตอน ระบบ UF

ลูกค้านิยมใช้ ⭐

สะอาด ปลอดภัย ราคาไม่แพง ประกอบด้วยไส้กรองตะกอน, ไส้กรองคาร์บอน, ไส้กรองเรซิ่น, ไส้กรอง UF และไส้กรอง Post Carbon กำจัดสิ่งสกปรกในน้ำ ดีต่อสุขภาพ

2. การปรับปรุงคุณภาพน้ำด้วยการกรองน้ำ

การปรับปรุงคุณภาพน้ำ คือการทำให้น้ำมีคุณสมบัติเหมาะสมกับการนำมาดื่มและใช้บริโภค ทำให้น้ำไม่ปนเปื้อนสารทางฟิสิกส์ เคมี และจุลินทรีย์ หากมีแร่ธาตุหรือสารเคมีปนเปื้อนในน้ำ ต้องไม่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ มีหลายวิธีในการปรับปรุงคุณภาพน้ำ ได้แก่

  • การต้ม
  • การตกตะกอน
  • การใช้เคมี เช่น การเติมคลอรีน การเติมโอโซน
  • การกรอง (เป็นวิธีที่นิยมใช้มากที่สุด)

การกรองน้ำ เป็นวิธีการกำจัดหรือลดสิ่งแปลกปลอม เชื้อจุลินทรีย์ สารเคมีที่ปนมากับน้ำ โดยสารปนเปื้อนจะถูกแยกออกตามชนิดของสารแขวนลอย สารกรอง และกระบวนการฆ่าเชื้อ

สยามคูลเลอร์ให้บริการด้านเครื่องทำน้ำเย็น ดูแลเอาใจใส่เหมือนคู่หูที่ไม่ทิ้งกัน เป็นที่ปรึกษาได้ยามมีปัญหา ขอเพียงคุณทักมา เรายินดีให้คำปรึกษาฟรีอย่างเต็มที่

2.1 ประเภทสารกรอง

  • สารกรองทราย (Sand Filter) คือ กรวดทรายที่คัดขนาดเป็นชั้นๆทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เพื่อกรองความขุ่น และสารแขวนลอยในน้ำ
  • สารกรองแอนทราไซต์ (Anthracite filter) ใช้กรองความขุ่น ตะกอน สารแขวนลอยในน้ำ และสารแขวนลอยที่เจือปนธาตุเหล็ก แมงกานีส
  • สารกรองคาร์บอน (Activated Carbon) ผงถ่านสีดำที่มีความพรุน ใช้กรอง สี กลิ่น รส และกำจัดคลอรีน
  • สารกรองเรซิ่น (Resin Filter) ทำหน้าที่กำจัดความกระด้างของน้ำที่เกิดจากสารประกอบของแคลเซียม แมกนีเซียม และอิออนบวกอื่นๆที่มีอยู่ในน้ำ ถ้ามีปริมาณมากจะทำให้น้ำมีความกระด้างสูง การลดค่าความกระด้างของน้ำจะทำผ่านสารกรองเรซิ่น โดยสารกรองเรซิ่นจะจับความกระด้างไว้ และมีผลทำให้ค่าความกระด้างลดลง
สารกรองทราย สารกรองแอนทราไซต์ สารกรองคาร์บอน สารกรองเรซิ่น
สารกรองทราย กรวด

2.2 การฆ่าเชื้อในน้ำ

  • ไส้กรองใยสังเคราะห์ เรียกว่าไส้กรอง PP ทำจากวัสดุโพลีโพรพีลีน มีรูพรุนขนาด 5 ไมครอน ทำหน้าที่กรองตะกอน สารแขวนลอย และอนุภาคขนาดเล็ก ไม่ให้หลุดผ่านมากับน้ำที่กรองได้
  • ไส้กรองเซรามิค (Ceramic Filter) ทำหน้าที่กรองตะกอนละเอียดและเชื้อโรค โดยไส้กรองที่มีความละเอียด 1-0.3 ไมครอน จะสามารถกรองจุลินทรีย์ได้ดี
  • หลอดอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet lamp; UV lamp) เป็นหลอดที่ให้แสงอัลตราไวโอเลต ทำหน้าที่ในการฆ่าจุลินทรีย์หรือเชื้อโรค โดยน้ำที่ผ่านแสง UV ต้องเป็นน้ำที่ใสมากๆ แสง UV จึงจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นส่วนมากจึงต้องติดตั้งไส้กรองใยสังเคราะห์และไส้กรองเซรามิคเพื่อให้น้ำใสก่อนที่จะนำมาผ่านหลอด UV ในขั้นตอนสุดท้าย
ไส้กรอง pp

ไส้กรองใยสังเคราะห์

ไส้กรองน้ำ ceramic

ไส้กรองเซรามิค

หลอดยูวี

  • คลอรีน เป็นสารเคมีที่ใช้สำหรับฆ่าเชื้อโรคได้มากกว่า 99% รวมทั้ง coli และเชื้อไวรัส นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์คงเหลือในการฆ่าเชื้อโรคในน้ำต่อไปได้อีก โดยคลอรีนที่เติมลงไปจะละลายน้ำอยู่ในรูปของคลอรีนอิสระ (Residual Chlroine) ทำหน้าที่ฆ่าเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนในภายหลัง

ความเข้มข้นและปริมาณของคลอรีนที่เติมลงในน้ำไมใช่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการฆ่าเชื้อโรค แต่เป็นปริมาณคลอรีนอิสระที่เหลืออยู่ในน้ำ ซึ่งวัดได้หลังจากช่วงระยะเวลาหนึ่ง การเติมคลอรีนน้อยไป จะไม่ทำให้เกิดคลอรีนอิสระขึ้น และอาจจะทำลายเชื้อโรคในน้ำไม่ได้ทั้งหมด

แต่การเติมคลอรีนในปริมาณที่มากเกินไป จะทำให้น้ำมีกลิ่นฉุนของคลอรีน และทำให้รสชาติของน้ำเสียไปด้วย คลอรีนยังมีฤทธิ์กัดกร่อน อาจทำให้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆเสียหายได้ ดังนั้นในการเติมคลอรีน จึงต้องเติมในปริมาณที่พอเหมาะ เติมในระดับที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้หมด โดยก่อให้เกิดปริมาณคลอรีนอิสระที่แนะนำ นั่นคือระหว่าง 0.2 – 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร (ppm) ณ เวลาสัมผัส 30 นาที

อ่านต่อ : คลอรีนอันตรายไหม? ถ้าน้ำมีกลิ่นคลอรีนต้องทำยังไง?

ตู้น้ำ WP9HC-UF+RO

เครื่องทำน้ำเย็น WP9HC
Best Seller

เหมาะกับออฟฟิศและสำนักงานที่มีจำนวนผู้ใช้งานประมาณ 20 คน เป็นสินค้าขายดีต่อเนื่องติดต่อกันกว่า 10 ปีในงบประมาณไม่เกิน 10,000 บาท

คลิกเพื่อดูรายละเอียด

หมายความว่า หลังจากที่เติมสารละลายคลอรีนไปแล้ว 30 นาที ต้องสามารถวัดปริมาณคลอรีนอิสระได้ระหว่าง 0.2-0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร การใช้คลอรีนในการฆ่าเชื้อ อาจทำให้เกิดปัญหาของกลิ่นคลอรีนตกค้าง แก้ไขโดยเก็บน้ำในถังพักนาน 1-2 คืน หรือใช้ไส้กรองคาร์บอน (ถ่านกัมมันต์)

ข้อดีของคลอรีนที่ใช้ฆ่าเชื้อโรค คือ ราคาไม่แพง ใช้ง่าย การดูแลเก็บรักษาง่าย คลอรีนที่เหมาะสมสำหรับใช้ในครัวเรือน ได้แก่ คลอรีนผง คลอรีนเม็ดและคลอรีนน้ำ ควรเลือกชนิดที่มีปริมาณพอเหมาะในการใช้แต่ละครั้ง เพราะคลอรีนมีการระเหยเสื่อมคุณภาพได้ และจะใช้ไม่ได้ผล

  • โอโซน การฆ่าเชื้อโดยใช้โอโซน ต้องให้โอโซนสัมผัสกับน้ำโดยตรง เนื่องจากโอโซนมีสถานะเป็นก๊าซ การฉีดโอโซนให้ผสมกับน้ำต้องทำภายใต้ความดันไม่น้อยกว่า 5 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร เวลาไม่น้อยกว่า 2 นาที จึงจะมีประสิทธิภาพสูงสุดในการฆ่าเชื้อในน้ำ สามารถกำจัดสีที่เกิดจากสารอินทรีย์ในน้ำ กลิ่น และความขุ่นได้

โอโซนมีประสิทธิภาพดีกว่าคลอรีน 10-100 เท่า และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เมื่อฆ่าเชื้อโรคแล้วก็จะกลายเป็นก๊าซออกซิเจน ทำให้น้ำสะอาดมากขึ้นอีกด้วย

โอโซน

2.3 ตารางกระบวนการฆ่าเชื้อโรคในน้ำ

กระบวนการ ชนิดจุลินทรีย์ หมายเหตุ
การกรอง (Filtration) ; Microfiltration, Ultrafiltration, Nanofiltration, Reverse Osmosis ไวรัส / แบคทีเรีย / โปรโตชัว ประสิทธิภาพการกำจัดเชื้อจุลินทรีย์จะขึ้นอยู่กับขนาดรูพรุนหรือความละเอียดของตัวกรองที่ใช้
การใช้คลอรีน (Chlorine) ไวรัส / แบคทีเรีย / โปรโตชัว ประสิทธิภาพการกำจัดเชื้อจุลินทรีย์จะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นและระยะเวลาที่ใช้ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กันมานาน และเป็นที่นิยม มีประสิทธิภาพกับน้ำที่มีความขุ่นไม่เกิน 5 NTU
การใช้โอโซน (Ozone) ไวรัส / แบคทีเรีย / โปรโตชัว ประสิทธิภาพการกำจัดเชื้อจุลินทรีย์จะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นและเวลาที่ใช้โดยทั่วไปไวรัสจะทนต่อโอโซนได้ดีกว่าแบคทีเรีย
การใช้แสงยูวี (UV) ไวรัส / แบคทีเรีย / โปรโตชัว ประสิทธิภาพการกำจัดเชื้อจุลินทรีย์จะขึ้นอยู่กับความเข้มแสง เวลาที่ใช้ และความยาวของหลอดยูวี มีประสิทธิภาพกับน้ำที่มีความขุ่นไม่เกิน 5 NTU

3. เครื่องกรองน้ำมีกี่ระบบ?

เครื่องกรองน้ำที่ใช้ในการผลิต มี 3 ระบบใหญ่ และมีอีก 1 ระบบที่พัฒนาเพิ่มเติมขึ้นมา ก่อนน้ำเข้าสู่ระบบกรอง เราจำเป็นต้องนำน้ำมาผ่านกระบวนการปรับสภาพน้ำเบื้องต้นก่อน เช่น การลดปริมาณจุลินทรีย์ในน้ำดิบ การลดสารแขวนลอย ธาตุเหล็ก แมงกานีส หรือความกระด้างของน้ำก่อนเข้าสู่เครื่องกรองน้ำ

ถ้าไม่มีกระบวนการปรับสภาพน้ำเบื้องต้น เราต้องมั่นใจว่าน้ำมีคุณภาพดี ปราศจากสิ่งปนเปื้อนตามที่เขียนด้านบน เพื่อให้การกรองมีประสิทธิภาพในการกำจัดอันตรายจากสารปนเปื้อนทางฟิสิกส์ เคมี และจุลินทรีย์ที่อยู่ในน้ำได้

3.1 เครื่องกรองน้ำระบบ RO (Reverse Osmosis)

การออสโมซิส (Osmosis) เป็นกระบวนการแพร่โมเลกุลของเหลวหรือน้ำผ่านเยื่อเมมเบรน (Membrane) จากบริเวณที่มีสารละลายความเข้มข้นต่ำ ไปยังบริเวณที่มีสารละลายความเข้มข้นสูง

ดังนั้นรีเวอร์ส ออสโมซิส (Reverse Osmosis) ก็จะทำตรงกันข้าม (Reverse = ย้อนกลับ) นั่นคือการเพิ่มแรงดันให้สารละลายที่มีความเข้มข้นสูง เพื่อบีบให้โมเลกุลของน้ำหรือของเหลวผ่านเยื่อเมมเบรนไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารละลายต่ำ ตามรูปภาพด้านล่าง

หลักการ

ใช้แรงดันน้ำให้ผ่านเยื่อเมมเบรนที่มีคุณภาพสูง (Thin film composite) โดยเยื่อเมมเบรนจะเต็มไปด้วยรูพรุนขนาดเล็ก ที่มีความสามารถในการกรองได้ละเอียดถึง 0.0001 ไมครอน หรือเล็กกว่าเส้นผมถึง 500,000 เท่า (เส้นผม=50 ไมครอน) สามารถกรองได้ถึงไอออน และสารละลายที่อยู่ในน้ำได้ด้วย ทำให้น้ำที่ออกจากเครื่องกรอง RO มีความบริสุทธิ์สูง

ระบบกรอง reverse osmosis

ข้อดี :

  • มีประสิทธิภาพในการกรองสูง สามารถป้องกันสารตกค้างและเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • น้ำที่ได้จากการกรองเมื่อนำไปต้มแทบจะไม่มีตะกรันหลงเหลืออยู่เลย

ข้อควรระวัง :

  • เนื่องจากเครื่องกรองน้ำชนิดนี้มีความละเอียดในการกรองสูง ทำให้แร่ธาตุต่างๆถูกกรองออกไปจนหมด ต้นทุนการติดตั้งเริ่มต้นมีราคาค่อนข้างสูง
  • มีน้ำทิ้งในระหว่างกระบวนการผลิต ทำให้สิ้นเปลืองน้ำ
  • หากไฟฟ้าดับจะไม่สามารถใช้งานได้ เพราะต้องใช้ไฟฟ้าเพื่อเพิ่มแรงดันน้ำให้ผ่านเยื่อเมมเบรนที่มีความละเอียดมาก

คุณภาพน้ำดิบก่อนเข้าเครื่องกรอง RO

  • ไม่มีสารแขวนลอยที่จะเข้าไปอุดตันเยื่อเมมเบรน
  • ไม่มีเชื้อแบคทีเรียเข้าไปตกค้างการเจริญเติบโตและทำลายเยื่อเมมเบรน
  • ไม่มีสารเกลือแร่ที่จะเกิดตะกรันเคลือบผิวหน้าเยื่อเมมเบรน ทำให้เกิดการอุดตัน
  • ไม่มีธาตุเหล็กสูง เพื่อป้องกันการตกตะกอนบนเยื่อเมมเบรน
  • ไม่มีคลอรีนตกค้าง ซึ่งสามารถทำลายเยื่ยเมมเบรนด้วยปฏิกิริยาออกซิเดชัน (กรณีเยื่อเมมเบรนเป็นชนิดเซลลูโลส)
  • ไม่มีสารประเภทไขมันเข้าไปทำลายและอุดตันเยื่อเมมเบรน
ro50gpd 100gpd 150gpd

เครื่องกรองน้ำ ระบบ RO

ได้รับการยอมรับว่าสะอาดสูงสุด

ระบบ RO เป็นวิธีการกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด สะอาด รสชาติอร่อย และยังได้รับการรับรองจาก EPA (Environmental Protection Agency - USA) มีกำลังการผลิตตั้งแต่ RO50GPD-1,200GPD โดย GPD ย่อมาจากคำว่า Gallon per day

3.2 เครื่องกรองน้ำระบบ UF (Ultrafiltration)

ระบบ UF เป็นการกรองโดยใช้แรงดันน้ำ (Pressure) เป็นตัวผลักดันให้น้ำและสารละลายที่มีขนาดเล็ก ผ่านไส้กรองที่มีความละเอียดสูง มีความละเอียดในการกรอง 0.01 ไมครอน สามารถกรองสารแขวนลอย (ตะกอนหรือฝุ่น) เชื้อแบคทีเรีย รวมถึงจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กที่สุดอย่างไวรัสที่อยู่ในน้ำได้ เป็นหลักการเดียวกับระบบ RO แต่มีความละเอียดในการกรองน้อยกว่า

หลักการทำงาน Ultrafiltration

ข้อดี

  • เครื่องกรองน้ำ UF ไม่จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้า สามารถใช้แรงดันน้ำปกติจากท่อประปาหรือจากปั๊มน้ำในบ้านได้เลย เพราะไม่ใช้ปั๊มเพื่อเพิ่มแรงดันน้ำผ่านไส้กรองของ UF
  • ไม่ต้องเดินสายไฟฟ้า ไม่มีปั๊มน้ำ ไม่จำเป็นต้องมีถังแรงดันเพื่อเก็บน้ำ และไม่มีน้ำทิ้งจากระบบ

ข้อควรระวัง

  • น้ำที่กรองได้ค่า pH มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หรือมีความเป็นด่างสูง
  • เมื่อนำไปต้มจะยังมีตะกรันอยู่

3.3 เครื่องกรองน้ำระบบ UV (Ultraviolet)

เครื่องกรองน้ำ UV เป็นระบบกรองสิ่งสกปรกต่างๆออกจากน้ำตามประเภทของไส้กรองและนำหลอดไฟที่สามารถสร้างคลื่นแสงที่เป็นรังสี UV มาใช้ในการทำลายเชื้อโรค โดยมีความยาวคลื่นระหว่าง 250-270 นาโนเมตร ความยาวของหลอดไฟมากเท่าไหร่ก็ทำให้แสงสัมผัสกับน้ำได้มากขึ้นเท่านั้น

หลอดยูวี ฆ่าเชื้อโรคในน้ำ

ประสิทธิภาพของหลอดไฟ UV ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้

  1. น้ำต้องปราศจากความขุ่นหรือสี
  2. ต้องไม่มีสิ่งสกปรกเกาะจับอยู่บนหลอดยูวี เพราะสิ่งสกปรกจะทำให้แสงไม่สามารถส่องผ่านได้ตลอดความลึก
  3. ก่อนใช้เครื่องยูวีต้องอุ่นเครื่อง (เปิดทิ้งไว้) ประมาณ 2 นาที ช่วงเวลานี้เราต้องระวังไม่ให้น้ำไหลเข้าเครื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำที่ผลิตโดยยังไม่ฆ่าเชื้อโรคผ่านออกจากเครื่องยูวีได้
  4. ควรมีอุปกรณ์ควบคุมอัตราการไหลของน้ำที่ผ่านเข้าเครื่องไม่ให้สูงเกินกว่าอัตราที่เหมาะสม เพราะถ้าไหลเร็วมากไปก็ฆ่าเชื้อไม่ทัน
  5. ควรมีระบบสัญญาณเตือนให้รู้ถึงความผิดปกติของเครื่องฆ่าเชื้อ
  6. ต้องมีมาตรบอกความเข้มของแสงยูวี วัดในจุดที่ไกลที่สุดในห้องฆ่าเชื้อ
ตู้ทำน้ำร้อน-เย็น ต่อท่อประปา 3 ก๊อก

เครื่องทำน้ำร้อน น้ำเย็น สแตนเลส S300-C2-H1

Stainless Steel 304 ⭐

ตู้กดน้ำเย็น น้ำร้อน ทำจากสแตนเลส 304 นำเข้าจากญี่ปุ่น นิยมใช้ในโรงงาน โกดัง ยี่ห้อ Standard รับประกันคอมเพรสเซอร์ 2 ปีเต็ม

ข้อดี

  • ไม่ทำให้เกิดรส ไม่สร้างสารตกค้างในน้ำ คุณภาพน้ำไม่เปลี่ยน

ข้อควรระวัง

  • วัสดุที่ใช้สร้างเครื่องยูวีต้องไม่ทำให้น้ำเป็นพิษ ทั้งทางตรงและทางอ้อม
  • เครื่องยูวีต้องไม่ทำให้ผู้ใช้ได้รับอันตราย เนื่องจากสัมผัสกับแสงยูวีมากเกินไป หรือเนื่องจากไฟฟ้าช็อต หรืออื่นๆ
  • ตัวหลอดไฟยูวี ควรสร้างขึ้นจาก Quartz หรือแก้วที่มีซิลิกาสูง เพื่อให้มีการดูดกลืนแสงยูวีเกิดขึ้นน้อยที่สุด นอกจากนี้อุณหภูมิทำงานของหลอดแสงยูวีควรสูงประมาณ 105 องศาฟาเรนไฮต์

3.4 เครื่องกรองน้ำระบบ Nano กับ RO ต่างกันอย่างไร?

เครื่องกรองน้ำ RO มีประสิทธิภาพในการกำจัดสิ่งปนเปื้อนหลายประเภท เช่น โลหะหนัก เกลือ แบคทีเรีย ไวรัส และสารเคมี ที่สำคัญคือกำจัดปริมาณสารละลายในน้ำ (TDS) ได้เกือบทั้งหมด เพราะมีความละเอียดสูงมาก ด้วยเหตุนี้ก็เลยต้องใช้ไฟฟ้าเพื่อให้ปั๊มน้ำเพิ่มแรงดันน้ำผ่านไส้กรอง น้ำที่ผ่านกรองจะไม่เหลือแร่ธาตุอยู่เลย ระหว่างผลิตน้ำก็มีน้ำเสียเป็นจำนวนมาก ทำให้สิ้นเปลือง มีอัตราการกรองที่ช้า ไม่เหมาะกับครัวเรือนขนาดใหญ่เท่าไหร่

เครื่องกรองน้ำ Nano ก็เลยถูกพัฒนาขึ้นมาให้อยู่ตรงกลาง โดยเอาข้อดีของระบบ RO และ UF มาผสมกัน มีความละเอียดในการกรอง 0.001 ไมครอน มีประสิทธิภาพในการกำจัดสิ่งปนเปื้อน เชื้อโรค แบคทีเรีย แต่ก็ยังเหลือแร่ธาตุ วิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอยู่ในน้ำด้วย นอกจากนี้ยังมีอัตราการไหลของน้ำสูงกว่า ทำให้จ่ายน้ำได้เร็วกว่าโดยไม่ต้องใช้ปั๊มน้ำเพิ่มแรงดันเลย แต่ก็ไม่สามารถกำจัดสารละลายในน้ำ (TDS) ได้มากเท่ากับระบบ RO ครับ จะเลือกใช้ระบบไหนก็ขึ้นอยู่กับข้อกังวลหรือข้อกำหนดเรื่องคุณภาพน้ำของแต่ละคนครับ

คุณภาพน้ำดื่ม กรมอนามัย

4. การปรับปรุงคุณภาพน้ำสำหรับใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินทำยังไง?

ขั้นตอนการปรับปรุงน้ำ

  1. ตักน้ำในบริเวณที่น้ำไม่เน่าเสีย หรือมีกลิ่นเหม็น หรือบริเวณที่น้ำไหลไกลจากห้องน้ำ ห้องส้วม มาใส่ถังขนาด 50-100 ลิตร
  2. กรองเอาเศษสิ่งของที่ปนมากับน้ำออกให้หมด เช่น ใบไม้ เศษไม้ เศษวัชพืช เป็นต้น
  3. จุ่มก้อนสารส้มลงไปในน้ำลึกประมาณ 2 ใน 3 ของปริมาณน้ำในถัง โดยจะต้องกวนเร็ว 5 นาที และกวนช้า 10 นาที
  4. เมื่อสังเกตเห็นตะกอนขนาดใหญ่ ให้หยุดกวน แล้วปล่อยทิ้งไว้เพื่อตกตะกอน 30-60 นาที รอตะกอนตกสู่ก้นถัง จากนั้นตักน้ำส่วนใสด้านบนออกมาใส่ถัง
  5. นำน้ำส่วนใสที่ได้มาจากการฆ่าเชื้อโรคก่อนนำมาใช้ได้ 2 วิธี
  • ฆ่าเชื้อโรคด้วยการต้มน้ำให้เดือด เป็นเวลา 1-3 นาที
  • หยดคลอรีนลงในน้ำ 2% หรือหยดทิพย์ (อ 32) ในปริมาณ 1 หยดต่อน้ำ 1 ลิตร ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 30 นาทีเพื่อให้คลอรีนฆ่าเชื้อโรค

สรุป

เราสามารถปรับปรุงคุณภาพน้ำได้ด้วยด้วยการกรองน้ำ โดยมีประเภทสารกรองน้ำ และไส้กรองน้ำที่ทำหน้าที่กำจัดสิ่งปนเปื้อนแต่ละชนิดแตกต่างกันไป ได้แก่ สารกรองทราย, สารกรองแอนทราไซต์, สารกรองคาร์บอน, สารกรองเรซิน รวมถึงการฆ่าเชื้อในน้ำจะนิยมใช้คลอรีน, หลอดยูวี, ไส้กรองเซรามิค และไส้กรองใยสังเคราะห์

วิธีการปรับปรุงคุณภาพน้ำที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือการใช้เครื่องกรองน้ำ มี 4 ระบบ ได้แก่ ระบบ RO, UF, UV และ Nano เราจะเลือกใช้ระบบไหน ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพน้ำที่ต้องการ ข้อดี-ข้อเสียที่ยอมรับได้ แต่ถ้าเราไม่สามารถจัดหาเครื่องมือเหล่านี้ได้ ก็ต้องใช้วิธีการปรับปรุงคุณภาพน้ำในสถานการณ์ฉุกเฉินแทน ขอบคุณที่อ่านจนจบครับ

แหล่งที่มา : คู่มือมาตรฐานน้ำดื่มประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

เงื่อนไขการให้บริการ

  1. ราคาขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการให้บริการ เช่น ราคาส่งอย่างเดียว ราคาส่งพร้อมติดตั้ง สามารถสอบถามและขอใบเสนอราคาได้ตามช่องทางติดต่อด้านล่าง
  2. ส่งสินค้าฟรีเฉพาะเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล
  3. หากลูกค้าอยู่ต่างจังหวัด มี 2 กรณี

    3.1 ส่งอย่างเดียวโดยการใช้บริการขนส่ง ค่าขนส่งขึ้นอยู่กับระยะทางและน้ำหนักสินค้า จ่ายต้นทางหรือปลายทางขึ้นอยู่กับการตกลง
    3.2 ทางเราดำเนินการส่งเองพร้อมติดตั้งให้ โดยจะมีการคิดค่าน้ำมันตามระยะทางไป-กลับ

หมายเหตุ : ทางเราไม่ได้มีบริการติดตั้งทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย เช่น ภาคเหนือ ภาคใต้ ทางเราไม่มีบริการติดตั้ง ขึ้นอยู่กับระยะทางและปริมาณการซื้อขาย สามารถทักมาสอบถามพูดคุยเบื้องต้นก่อนได้ตามช่องทางการติดต่อด้านล่าง

  • การติดตั้งไม่รวมถึงการเดินท่อประปา, ท่อน้ำทิ้ง, ปลั๊กไฟ และสายไฟ สิ่งเหล่านี้เป็นความรับผิดชอบของลูกค้า
  • ติดตั้งฟรีหน้างานในระยะไม่เกิน 5 เมตร จากจุดเชื่อมน้ำประปา ก๊อกน้ำ หรือวาล์วน้ำ เป็นสายอ่อน 2 หุน
  • ไม่รับประกันอุปกรณ์ที่เสื่อมสภาพตามการใช้งาน เช่น ก๊อกน้ำ แกนก๊อก ไส้กรองน้ำ
  • มีตู้สำรองให้ใช้ระหว่างการซ่อมตลอดอายุการใช้งาน หากต้องยกตู้เข้าโรงงานเพื่อตรวจเช็ค
สอบถามข้อมูล สั่งซื้อสินค้า ขอใบเสนอราคา
Line คลิกที่นี่เพื่อ Chat ทันที
E-mail siamcooler1@gmail.com
Facebook @siamcooler
Youtube @siamcooler
ออฟฟิศ 02-539-2630 02-539-2607
  02-538-6343  
มือถือ 092-364-4629 (ฝ่ายขาย) 087-935-1415 (ฝ่ายซ่อมบำรุง)
แฟกซ์ 02-931-1381  

Siamcooler Mart and Service ยินดีให้คำปรึกษาและให้บริการอย่างเต็มความสามารถเพื่อช่วยลูกค้าแก้ปัญหา เปรียบเสมือนแผนกหนึ่งในองค์กรที่ช่วยดูแลเรื่องตู้กดน้ำ ไส้กรองน้ำ เครื่องกรองน้ำ อะไหล่ และบริการบำรุงรักษา เช่น การล้างทำความสะอาด การซ่อมบำรุง การทำสัญญาบริการรายปี

ประสบการณ์กว่า 20 ปี มีฐานลูกค้ามากกว่า 6,000 ราย ได้รับความไว้วางใจจากภาครัฐ เอกชน โรงเรียน ครัวเรือน และขยายฐานลูกค้าอย่างต่อเนื่อง จากการบอกต่อของลูกค้าที่ประทับใจในการใช้บริการกับเรา สามารถชื่นชมผลงานที่ผ่านมาของเราได้ที่นี่

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *